วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

มาตรฐาน สาย Lan

มาตรฐานสายสัญญาณ
สมาคมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือ EIA (Electronics Industries Association) และสมาคมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (Telecommunicatio Industries Association) ได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐาน EIA/TIA 568 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการผลิตสาย UTP โดยมาตรฐานนี้ได้แบ่งประเภทของสายออกเป็นหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะเรียกว่า Category N โดย N คือหมายเลขที่บอกประเภท ส่วนสถาบันมาตรฐานนานาชาติ (International Organization for Standardization) ได้กำหนดมาตรฐานนี้เช่นกัน โดยจะเรียกสายแต่ละประเภทเป็น Class A-F คุณสมบัติโดยทั่วไปของสายแต่ละประเภทเป็นดังนี้

Category 1/Class A : เป็นสายที่ใช้ได้กับระบบโทรศัพท์อย่างเดียว โดยสายนี้ไม่ สามารถใช้ในการส่งข้อมูลแบบดิจิตอลได้ สายโทรศัพท์ที่ใช้ก่อนปี 1983 จะเป็นสายแบบ Cat 1
Category 2/Class B : เป็นสายที่รองรับแบนด์วิดท์ได้ถึง 4 MHz ซึ่งทำให้สามารถส่งข้อมูลแบบดิจิตอลได้ถึง 4 Mbps ซึ่งจะประกอบด้วยสายคู่เกลียวบิดอยู่ 4 คู่
Category 3/Class C : เป็นสายที่สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 16 Mbps และมีสายคู่เกลียวบิดอยู่ 4 คู่

Category 4 : ส่งข้อมูลได้ถึง 20 Mbps และมีสายคู่เกลียวบิดอยู่ 4 คู่

Category 5/Class D : ส่งข้อมูลได้ถึง 100 Mbps โดยใช้ 2 คู่สาย และรับส่งข้อมูลได้ถึง 1000 Mbps เมื่อใช้ 4 คู่สาย

Category 5 Enhanced (5e) เช่นเดียวกับ Cat 5 แต่มีคุณภาพของสายที่ดีกว่า เพื่อรองรับการส่งข้อมูลแบบฟูลล์ดูเพล็กซ์ที่ 1000 Mbps ซึ่งใช้ 4 คู่สาย
Category 6/Class E : รองรับแบนด์วิดท์ได้ถึง 250 MHz

Category 7/Class F : รองรับแบนด์วิดท์ได้ถึง 600 MHz และกำลังอยู่ในระหว่างการ วิจัย

มาตรฐาน EIA/TIA 568 นั้นได้กำหนดคุณสมบัติต่างๆของสายสัญญาณ UTP ดังนี้
- ความต้านทาน (Impedance) : โดยทั่วไปจะกำหนดไว้ที่ 100 Ohm +15%
- ค่าสูญเสียสัญญาณ (Attenuation) : ของสายที่ความยาว 100 เมตรคืออัตราส่วนระหว่างกำลังสัญญาณที่ส่งต่อกำลังสัญญาณที่วัดได้ที่ปลายสาย โดยมีหน่วยเป็นเดซิเบล (dB)
- NEXT (Near-End Cross Talk) : เป็นค่าของสัญญาณรบกวนของสายคู่ส่งต่อสายคู่รับที่ฝั่งส่งสัญญาณ โดยวัดเป็นเดซิเบลเช่นกัน


- PS-NEXT (Power-Sum NEXT) : เป็นค่าที่คำนวณได้จากสัญญาณรบกวน NEXT ของสายอีก 3 คู่ ที่มีผลต่อสายคู่ที่วัด ค่านี้จะมีผลเมื่อใช้สายสัญญาณทั้งคู่ในการรับส่งสัญญาณ เช่น กิกะบิตอีเธอร์เน็ต
- FEXT (Far-End Cross Talk) : จะคล้ายกับ NEXT แต่เป็นการวัดค่าสัญญาณรบกวนที่ปลายสาย
- ELFEXT (Equal-Level Far-End Cross Talk) : เป็นค่าที่คำนวณได้จากค่าสูญเสียของสัญญาณ (Attenuation) ลบด้วยค่า FEXT ดังนั้นค่า ELFEXT ยิ่งสูงแสดงว่าค่าสูญเสียยิ่งสูงด้วย
- PS-ELFEXT (Power-Sum Equal-Level Far-End Cross Talk) : เป็นค่าที่คำนวณคล้ายๆกับค่า PS-NEXT คือเป็นค่าที่คำนวณได้จากการรวม ELFEXT ที่เกิดจากสายสามคู่ที่เหลือ
- Return Loss : เป็นค่าที่วัดได้จากอัตราส่วนระหว่างกำลังสัญญาณที่ส่งไปต่อกำลังสัญญาณที่สะท้อนกลับมายังต้นสาย
- Deley Skew : เนื่องจากสัญญาณเดินทางบนสายสัญญาณแต่ละคู่ด้วยเวลาที่ต่างกัน ค่าดีเลย์สกิวคือ ค่าแตกต่างระหว่างคู่ที่เร็วที่สุดกับคู่ที่ช้าที่สุด

PIN #

Signal

TIA/EIA 568A

TIA/EIA 568B

1

Transmit+

ขาวเขียว

ขาวส้ม

2

Transmit+

เขียว

ส้ม

3

Receive+

ขาวส้ม

ขาวเขียว

4

N/A

น้ำเงิน

น้ำเงิน

5

N/A

ขาวน้ำเงิน

ขาวน้ำเงิน

6

Receive+

ส้ม

เขียว

7

N/A

ขาวน้ำตาล

ขาวน้ำตาล

8

N/A

น้ำตาล

น้ำตาล




ไม่มีความคิดเห็น: