วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Ethernet

เครือข่าย Ethernet

การสร้างเครือข่ายในบ้าน สำหรับบ้านที่มีสมาชิกอยู่หลายคน และใช้งานคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด เราสามารถจะสร้างระบบเครือข่ายภายในบ้านขึ้นมา แล้วเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันและเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตเพียงแอคเคาน์เดียว

เทคโนโลยีเครือข่ายในบ้าน เนื่องจากภายในบ้านจะมีการเดินสายไฟ สายโทรศัพท์เอาไว้อยู่แล้ว จึงสามารถนำสิ่งที่มีอยู่มาทำเป็นระบบเครือข่ายได้ ทำให้ไม่ต้องมาเดินสายเคเบิลกันใหม่ เทคโนโลยีเครือข่ายในบ้านสามารถจะแบ่งออกเป็น 5 แบบด้วยกันดังนี้
• เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Bus
• เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Star
• เทคโนโลยีเครือข่ายสายโทรศัพท์
• เทคโนโลยีเครือข่ายสายไฟฟ้า
• เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย

เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Bus
เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Bus เป็นไปตามมาตรฐาน 10Base2 โดยใช้สาย Coaxial (โคแอกเชี่ยล) เรียกว่า Thin Coaxial หรือ สาย RG-58 (มีความต้านทาน 50 โอห์ม) ความยาวโดยรวมของสายทั้งหมดจากเครื่องต้นทางถึงเครื่องปลายทางต้องไม่เกิน 180 เมตร การเชื่อมต่แบบนี้มีต้นทุนต่ำเพราะไม่ต้องใช้ฮับเป็นตัวกลางในการรับ-ส่งสัญาณ

เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Star
เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Star เป็นไปตามมาตรฐาน 10BaseT เป็นรูปแบบการใช้สายUTP (Unshield Twisted Pair) ซึ่งจะมีสายเส้นเล็ก ๆ ภายใน 8 เส้นตีเกลียวกัน 4 คู่ ในการรับ-ส่งมีความเร็ว 10/100 Mbps ด้วยสัญญาณแบบ Base band ความยาวของสายแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับจะต้องไม่เกิน 100 เมตร (ทางที่ดีไม่ควรเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน) การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะสมสำหรับใช้ภายในบ้านเพราะสามารถเคลื่อนย้ายเครื่องและสะดวกในการถอดสายแลนด์ สำหรับค่าใช้จ่ายก็ไม่แพงมากเนื่องจากฮับขนาด 8 พอร์ต มีราคา 1,000 บาทเศษ ๆ

เทคโนโลยีเครือข่ายสายโทรศัพท์
เทคโนโลยีเครือข่ายสายโทรศัพท์ หรือ Phoneline Network เป็นการนำสายโทรศัพท์ที่เดินไว้ภายในบ้าน มาเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ปกติแล้วจะมีการเดินสายโทรศัพท์เอาไว้ทุกห้องในบ้าน เราเพียงแต่นำการ์ดเน็ตเวิร์ก ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์มาเสียบลง ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว

เทคโนโลยีเครือข่ายสายไฟฟ้า
เทคโนโลยีเครือข่ายสายไฟฟ้า (Powerline Network) หรือ Power Line Communication เป็นการนำเอาสายไฟฟ้าที่เดินอยู่ภายในบ่านมาใช้รับ-ส่งข้อมูล (การใช้งานจะต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณข้อมูลออกจากสัญญาณไฟฟ้า) เทคโนโลยีเครือข่ายสายไฟฟ้าสามารถจะรับ-ส่งทั้งภาพ เสียง ไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งการท่องอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงขนาด 4.5 เมกกะบิตต่อวินาที (ความเร็วบนโมเด็มประมาณ 56 กิโลไบต์ต่อวินาที) การทำงานพื้นฐานของเทคโนโลยีเครือข่ายสายไฟฟ้า เมื่อมีสัญญาณข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตซึ่งจะมีความถี่สูงเข้าก็จะส่งสัญญาณนี้ไปยังสถานีไฟฟ้าท้องถิ่น เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับทุกบ้าน ผู้ใช้จะต้องมีหม้อแปลงพิเศษสำหรับเสียบเข้ากับปลั๊กไฟตามบ้าน แล้วทำการแปลง-แยกสัญญาณข้อมุลต่าง ๆ ทั้งภาพและเสียงออกจากสัญญาณไฟฟ้า จากนั้นจึงส่งข้อมูลเหล่านั้นไปให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ต่อไป
องค์กรที่ควบคุมดูแลมาตรฐานการใช้เครือข่ายสายไฟฟ้าคือ HomePlug Powerline A lliance โดยการรวมตัวของบริษัทผู้ผลิตอุปรณ์เครือข่ายชั้นนำต่างๆ เช่น AMD, CISCO, Compaq, Intel, Motorola, 3COM ฯลฯ มีเว็บไซต์ชื่อ www.homeplug.orgเทคโนโลยีของบริษัท Intellon จะเป็นการออกแบบชิพ (Chip) เพื่อใช้ฝังเข้าไปในคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ จากรูปที่ 5.8 จะเห็นว่าเทคโนโลยี Intellon Homeplug 1.0 Compliant มีความเร็วสูงถึง 14 เมกกะบิตต่อวินาที

เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless) มีการพัฒนาใช้งานในช่วงมากกว่า 5 ปีที่ผ่านมา เหมาะสำหรับสถานที่ๆ ไม่ต้องการเดินสายแลนด์ให้เกะกะ เช่น ห้องประชุม ห้องรับรองลูกค้าระดับ VIP สวนสาธารณะหรือพื้นที่ๆ ไม่สามารถจะเดินสายแลนด์ได้ เพียงแต่เรานำเครื่องคอมพิวเตอร์มาตั้งใช้งานให้อยู่ในรัศมีการกระจายคลื่น โดยจะมีรัศมีทำการตั้งแต่ 80 ถึง 400 ฟุต เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สายมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ
1. HomeRF (Home Radio Frequency)
2. IEEE 802.11

HomeRF (Home Radio Frequency) เป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัท Cayman System, Compaq Ciemens, Intel, Motorola และ Proxim ที่ออกแบบมาให้ใช้งานภายในบ้าน ช่วยให้เราสามารถจะหิ้วโน๊ตบุ๊คไปนั่งทำงานในห้องใดในบ้านก็ได้ หรือจะมานั่งเปิด E-mail และค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตตรงสนามหญ้าหน้าบ้านก็ได้ ไม่ต้องสนใจเรื่องสายแลนด์จะยาวผอไหม ? เพราะระบบ HomeRF จะใช้คลื่นความถี่ 2.4 GHz (จิกะเฮิร์ต) สำหรับทะลุทะลวงผนังห้อง กำแพง สิ่งกีดขวางต่างๆ ในการรับ-ส่งข้อมูล ระบบนี้จะมีรัศมีการประมาณ 150 ฟุต มีความเร็วในการรับ-ส่งไฟล์ 10 เมกกะบิตต่อวินาทีตามมาตรฐาน HomeRF 2.0

IEEE 802.11b เป็นผลงานการออกแบบและพัฒนาโดยหน่วยงาน Institute of Electrical and Electronic Engineers (IEEE หรือเรียกว่า I triple E) เครือข่ายแบบ IEEE 802.11b จะรู้จักกันในชื่อ Wireless LAN(WLAN) ใช้คลื่นความถี่ 2.4 GHz (จิกะเฮิร์ต) ในการรับ-ส่งข้อมูล ระบบนี้จะมีรัศมีทำการประมาณ 80-300 ฟุต จากจุดเข้าใช้งาน หรืออาจจะมากถึง 100 เมตร มีความเร็วในการรับ-ส่งไฟล์ 11 เมกกะบิตต่อวินาที ระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ Wireless LAN นี้จะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ Access Point (จุดเข้าใช้) และการ์ด PC โดยทั้ง 2 ส่วนนี้จะทำหน้าที่รับ-ส่งสัญญาณคลื่นความถี่ 2.4 GHz มีหน่วยงานที่ทำการทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือ WECA (Wireless Ethernet Compatibility Alliance) มีเว็บไซต์ www.wi-fi.com สำหรับอินฟอร์มเมชั่น ต่างๆที่เกี่ยวข้อง มีอยู่ 2 บริษัทที่ออกแบบชิพจากทั้ง 2 บริษัทนี้

ไม่มีความคิดเห็น: